วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556
คำถามทั่วไปที่ผู้สัมภาษณ์นิยมใช้
- ทำไมคุณคิดว่าคุณจะรู้สึกพอใจ เมื่อได้ทำงานในตำแหน่งนี้
ควรตอบว่าเป็นงานที่มีความก้าวหน้า เป็นงานที่ทำได้ทำในสิ่งที่เรียนมา เป็นงานที่ชอบมานาน กิจการดีมีความมั่นคง ได้ยินว่ากิจการมีชื่อเสียงที่สุดด้านนี้หรืออยากทำงานในกิจการเล็ก ๆ ที่อบอุ่น มีโอกาสเรียนรู้งานได้มาก
- เคยมีประสบการณ์งานด้านนี้หรือไม่ มีหรือไม่มีประสบการณ์ก็
ให้ตอบตามความเป็นจริง หากผู้สมัครงานเคยมีประสบการณ์มาก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้สมัครงานเอง หากไม่มีก็ควรบอกว่ามีประสบการณ์อื่นที่ใกล้เคียงหรือเคยฝึกงานมา หรือเคยทำงานแบบนี้กรณีไม่มีประสบการณ์ใด ๆ เลยก็ควรบอกไปตรง ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้เพราะมีใจชอบงานลักษณะนี้
- ใช้คอมพิวเตอร์ หรือพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้หรือไม่
ทำได้หรือไม่ควรตอบไปตามความจริง หากไม่ได้ควรตอบว่ากำลังจะไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะรู้ว่าจำเป็นและมีประโยชน์ในการทำงานมาก
- ทำไมจึงออกจากงานเดิมที่ทำอยู่ หรือทำไมจึงคิดเปลี่ยนงาน
ไม่ควรตำหนิที่ทำงานเดิม แม้จะทราบว่าที่ทำงานเดิมเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่ทำงานใหม่ที่กำลังสมัครงาน เพราะจะถูกมองในแง่ลบ ควรตอบว่าไม่ชอบบรรยากาศหรือวิธีการทำงานแบบธุรกิจ หรืออะไรที่กว้าง ๆ และเน้นว่า คิดว่าที่ทำงานใหม่จะให้โอกาสและประสบการณ์ที่ดีกว่า หรือต้องทำงานที่ท้าทายกว่า
- สิ่งที่เรียนมาไม่ตรงกับงานที่ทำ และจะทำงานได้อย่างไร
ควรยอมรับความจริงว่าใช่ ไม่ตรงจริง ๆ แต่ผู้สมัครงานมีความสนใจในงานลักษณ์นี้มากกว่างานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมาจริง ๆ
- อยากจะถามอะไรเกี่ยวกับบริษัทบ้างไหม ไม่ควรตอบว่าไม่มี
แต่ควรถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบในงานที่ผู้สมัครงานต้องทำ หรือถามเกี่ยวกับบริษัท ให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความสนใจในกิจการของบริษัท หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการ โครงการฝึกอบรมของบริษัท เพื่อให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความต้องการ มีจุดประสงค์ใดบ้างในอนาคต
- ต้องการเงินเดือนเท่าไร ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ แต่ควรตอบว่าไม่
ต่ำกว่าเท่าไร โดยสอบถามอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับนี้ จากคนรู้จักหรือกิจการใกล้เคียงหรือเพื่อนฝูง ผู้สมัครงานควรต้องรู้ว่าตัวเองต้องได้เงินเดือนเท่าไรจึงจะสามารถดำรงชีพได้และมีเงินเหลือเก็บบ้าง หากไม่รู้จริง ๆ ว่าตนเองต้องการเงินเดือนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ควรตอบว่าแล้วบริษัทจะเห็นสมควรขอให้ดูความสามารถก่อน จะพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถ
กรณีไม่เข้าใจคำถาม ควรบอกผู้สัมภาษณ์ไปตรง ๆ ให้ถามคำถามใหม่อีกครั้ง และหลังจาการสัมภาษณ์แล้ว ควรมีการติดตามข่าวว่าได้งานหรือไม่แม่บริษัทจะบอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง เพื่อแสดงความสนใจจริงที่ต้องการจะทำงานบริษัทนั้น ๆ
2. ข้อที่ควรปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์
- ศึกษารายละเอียดของบริษัทก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อจะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์และเป็นการแสดงความสนใจที่มีต่อบริษัท
- ไปรับการสัมภาษณ์ตรงตามเวลา โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที หากไปช้าหรือไปไม่ได้ต้องรีบโทรศัพท์เพื่อขอเลื่อนนัดการสัมภาษณ์ออกไป
- นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่ควรเดินไปเดินมาหรือส่งเสียงดัง
- ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ ขณะเริ่มทักทายและกล่าวคำว่า “ สวัสดี ”
- ควรถามผู้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับงานที่จะให้ทำว่าจะให้ทำอะไร ทำที่ไหน ถ้าไม่มีคำถามเลยผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าผู้สัมภาษณ์ไม่มีความสนใจในงานที่จะสมัคร แต่ไม่ควรถามมากจนผู้สัมภาษณ์รำคาญ
- พูดให้ชัดเจนมีความเป็นธรรมชาติ และด้วยความมั่นใจ
- ใช้กริยา วาจาสุภาพขณะตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธ หรือใช้คำพูดดูถูก เพื่อดูอารมณ์ของผู้สมัครงานขณะที่โมโห หรือไม่พอใจ ดังนั้นผู้สมัครงานต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า
- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อทั้งแขนยาวและแขนสั้น
- ควรตัดผมสั้นไม่ปล่อยไว้จนยาว และโกนหนวดให้เรียบร้อย (สำหรับผู้ชาย)
- ควรใส่รองเท้าให้เรียบร้อย และไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าสานหรือรองเท้าแตะ ไม่ควรใส่ถุงเท้าสีสด ๆ หรือสีที่เป็นจุดเด่น
- ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรหลบตาและนั่งตาลอย มองนอกหน้าต่าง มองโต๊ะหรือแสดงอาการขวยเขิน
- ถ้าจะไอควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และกล่าวคำขอโทษ ขณะสัมภาษณ์ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
- ถ้าประตูห้องปิดควรเคาะประตูก่อนเข้าห้อง และกล่าวขออนุญาตนอกจากนั้นต้องระวังอย่าลากเก้าอี้ให้มีเสียงดัง
- คำถามที่ควรถามผู้สัมภาษณ์คือ ถามว่าในสายตาของผู้สัมภาษณ์เราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครงานในครั้งต่อไป
หลังจาการสัมภาษณ์แลัว สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้พิจารณาผู้สมัครงานจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ ความประทับใจครั้งแรก ความฉลาด มีไหวพริบ ความคิดริเริ่ม ความกระตือรือร้น ความขยันหมั่นเพียร ความสามารถในการสื่อข้อความ และมีจุดมุ่งหมายของชีวิต
- ทำไมคุณคิดว่าคุณจะรู้สึกพอใจ เมื่อได้ทำงานในตำแหน่งนี้
ควรตอบว่าเป็นงานที่มีความก้าวหน้า เป็นงานที่ทำได้ทำในสิ่งที่เรียนมา เป็นงานที่ชอบมานาน กิจการดีมีความมั่นคง ได้ยินว่ากิจการมีชื่อเสียงที่สุดด้านนี้หรืออยากทำงานในกิจการเล็ก ๆ ที่อบอุ่น มีโอกาสเรียนรู้งานได้มาก
- เคยมีประสบการณ์งานด้านนี้หรือไม่ มีหรือไม่มีประสบการณ์ก็
ให้ตอบตามความเป็นจริง หากผู้สมัครงานเคยมีประสบการณ์มาก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้สมัครงานเอง หากไม่มีก็ควรบอกว่ามีประสบการณ์อื่นที่ใกล้เคียงหรือเคยฝึกงานมา หรือเคยทำงานแบบนี้กรณีไม่มีประสบการณ์ใด ๆ เลยก็ควรบอกไปตรง ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้เพราะมีใจชอบงานลักษณะนี้
- ใช้คอมพิวเตอร์ หรือพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้หรือไม่
ทำได้หรือไม่ควรตอบไปตามความจริง หากไม่ได้ควรตอบว่ากำลังจะไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะรู้ว่าจำเป็นและมีประโยชน์ในการทำงานมาก
- ทำไมจึงออกจากงานเดิมที่ทำอยู่ หรือทำไมจึงคิดเปลี่ยนงาน
ไม่ควรตำหนิที่ทำงานเดิม แม้จะทราบว่าที่ทำงานเดิมเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่ทำงานใหม่ที่กำลังสมัครงาน เพราะจะถูกมองในแง่ลบ ควรตอบว่าไม่ชอบบรรยากาศหรือวิธีการทำงานแบบธุรกิจ หรืออะไรที่กว้าง ๆ และเน้นว่า คิดว่าที่ทำงานใหม่จะให้โอกาสและประสบการณ์ที่ดีกว่า หรือต้องทำงานที่ท้าทายกว่า
- สิ่งที่เรียนมาไม่ตรงกับงานที่ทำ และจะทำงานได้อย่างไร
ควรยอมรับความจริงว่าใช่ ไม่ตรงจริง ๆ แต่ผู้สมัครงานมีความสนใจในงานลักษณ์นี้มากกว่างานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมาจริง ๆ
- อยากจะถามอะไรเกี่ยวกับบริษัทบ้างไหม ไม่ควรตอบว่าไม่มี
แต่ควรถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบในงานที่ผู้สมัครงานต้องทำ หรือถามเกี่ยวกับบริษัท ให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความสนใจในกิจการของบริษัท หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการ โครงการฝึกอบรมของบริษัท เพื่อให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความต้องการ มีจุดประสงค์ใดบ้างในอนาคต
- ต้องการเงินเดือนเท่าไร ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ แต่ควรตอบว่าไม่
ต่ำกว่าเท่าไร โดยสอบถามอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับนี้ จากคนรู้จักหรือกิจการใกล้เคียงหรือเพื่อนฝูง ผู้สมัครงานควรต้องรู้ว่าตัวเองต้องได้เงินเดือนเท่าไรจึงจะสามารถดำรงชีพได้และมีเงินเหลือเก็บบ้าง หากไม่รู้จริง ๆ ว่าตนเองต้องการเงินเดือนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ควรตอบว่าแล้วบริษัทจะเห็นสมควรขอให้ดูความสามารถก่อน จะพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถ
กรณีไม่เข้าใจคำถาม ควรบอกผู้สัมภาษณ์ไปตรง ๆ ให้ถามคำถามใหม่อีกครั้ง และหลังจาการสัมภาษณ์แล้ว ควรมีการติดตามข่าวว่าได้งานหรือไม่แม่บริษัทจะบอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง เพื่อแสดงความสนใจจริงที่ต้องการจะทำงานบริษัทนั้น ๆ
2. ข้อที่ควรปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์
- ศึกษารายละเอียดของบริษัทก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อจะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์และเป็นการแสดงความสนใจที่มีต่อบริษัท
- ไปรับการสัมภาษณ์ตรงตามเวลา โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที หากไปช้าหรือไปไม่ได้ต้องรีบโทรศัพท์เพื่อขอเลื่อนนัดการสัมภาษณ์ออกไป
- นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่ควรเดินไปเดินมาหรือส่งเสียงดัง
- ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ ขณะเริ่มทักทายและกล่าวคำว่า “ สวัสดี ”
- ควรถามผู้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับงานที่จะให้ทำว่าจะให้ทำอะไร ทำที่ไหน ถ้าไม่มีคำถามเลยผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าผู้สัมภาษณ์ไม่มีความสนใจในงานที่จะสมัคร แต่ไม่ควรถามมากจนผู้สัมภาษณ์รำคาญ
- พูดให้ชัดเจนมีความเป็นธรรมชาติ และด้วยความมั่นใจ
- ใช้กริยา วาจาสุภาพขณะตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธ หรือใช้คำพูดดูถูก เพื่อดูอารมณ์ของผู้สมัครงานขณะที่โมโห หรือไม่พอใจ ดังนั้นผู้สมัครงานต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า
- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อทั้งแขนยาวและแขนสั้น
- ควรตัดผมสั้นไม่ปล่อยไว้จนยาว และโกนหนวดให้เรียบร้อย (สำหรับผู้ชาย)
- ควรใส่รองเท้าให้เรียบร้อย และไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าสานหรือรองเท้าแตะ ไม่ควรใส่ถุงเท้าสีสด ๆ หรือสีที่เป็นจุดเด่น
- ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรหลบตาและนั่งตาลอย มองนอกหน้าต่าง มองโต๊ะหรือแสดงอาการขวยเขิน
- ถ้าจะไอควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และกล่าวคำขอโทษ ขณะสัมภาษณ์ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
- ถ้าประตูห้องปิดควรเคาะประตูก่อนเข้าห้อง และกล่าวขออนุญาตนอกจากนั้นต้องระวังอย่าลากเก้าอี้ให้มีเสียงดัง
- คำถามที่ควรถามผู้สัมภาษณ์คือ ถามว่าในสายตาของผู้สัมภาษณ์เราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครงานในครั้งต่อไป
หลังจาการสัมภาษณ์แลัว สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้พิจารณาผู้สมัครงานจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ ความประทับใจครั้งแรก ความฉลาด มีไหวพริบ ความคิดริเริ่ม ความกระตือรือร้น ความขยันหมั่นเพียร ความสามารถในการสื่อข้อความ และมีจุดมุ่งหมายของชีวิต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น: